การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 และนานาชาติ ครั้งที่ 1
(MJUP Conference 2023)

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

หลักการและเหตุผล

         มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนในพื้นที่จังหวัดที่อยู่ห่างไกลจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมหาวิทยาลัยมีนโยบายว่า “มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการและเป็นศูนย์กลางของการแก้ปัญหาในท้องถิ่น” ซึ่งในปัจจุบันได้มีการจัดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน มีหลักสูตรที่มีความหลากหลายของสาขาวิชา ทั้งทางด้านสังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเกษตรศาสตร์ ทำให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีบุคลากรและนักศึกษามีผลงานทางวิชาการที่มีความหลากหลายและมีการบูรณาการระหว่างศาสตร์ต่าง ๆ อีกทั้งมหาวิทยาลัยยังให้บริการวิชาการกับหน่วยงานภายนอกทั้งในภาคเกษตร โรงเรียน และชุมชน เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในพื้นที่ที่รายล้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งดิน น้ำ ป่า ทำให้สามารถใช้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้เป็นพื้นที่ในการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งในการเรียนการสอนการวิจัย และการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาท้องถิ่น ขณะเดียวกันนโยบายของการพัฒนาประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-economy) เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจของชุมชนและพื้นที่ให้เกิดความเข้มแข็ง และส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยใช้หลักการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนตามนโยบายเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ (Creative Innovation and Technology for Sustainable Development Goals : SDGs)
เพื่อเป็นการขับเคลื่อนผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ให้ทันความก้าวหน้าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และเกิดการบูรณาการงานข้ามศาสตร์อย่างหลากหลาย นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ในการพัฒนาผลงานทางวิชาการให้เกิดความทันสมัยและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ดังนั้นมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงขอจัดโครงการการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ในหัวข้อ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างสรรค์สู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Creative Innovation and Technology for Sustainable Development Goals : SDGs) ขึ้น เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย การแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ด้านการวิจัยจากนักวิจัยอาวุโสสู่นักวิจัยรุ่นกลางและรุ่นใหม่ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย นักศึกษา นักเรียน และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางด้านประโยชน์เชิงวิชาการ เชิงสังคม และเศรษฐกิจ เพื่อการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดการกระตุ้นให้นักวิจัยได้ตระหนักและมีการปรับตัวเพื่อรองรับการวิจัยที่ต้องการความถูกต้องและแม่นยำสูงจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการวิจัยในยุคปัจจุบัน รวมถึงเกิดการพัฒนาและสร้างเครือข่ายการวิจัย ความร่วมมือทางวิชาการให้เข้มแข็งระหว่างนักวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

กลุ่มนำเสนอผลงาน

กลุ่มสาขาการนำเสนอผลงานวิชาการ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

Image

กลุ่มที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรและอาหาร
  • เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางพืช ประกอบด้วย
    • การปรับปรุงพันธุ์ 
    • การผลิตพืช
    • วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
    • การอารักขาพืช
    • เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการผลิตพืชสมัยใหม่
  • เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ ประกอบด้วย
    • การปรับปรุงพันธุ์สัตว์
    • โรคและสุขาภิบาลสัตว์
    • การปศุสัตว์
    • การผลิตสัตว์
    • เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการผลิตสัตว์สมัยใหม่ 
  • เทคโนโลยีและนวัตกรรมการใช้จุลินทรีย์ ประกอบด้วย
    • การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ทางการเกษตรและอาหาร
    • เห็ด รา ยีสต์ และการใช้ประโยชน์
    • เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร
  • เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางอาหาร ประกอบด้วย
    • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางอาหาร
    • อาหารสุขภาพ และอาหารเชิงหน้าที่
    • เทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม
    • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร

กลุ่มที่ 2 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 
  • นิเวศวิทยาและการจัดการ 
  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
  • การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 
  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมยุค 4.0 เพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
  • การจัดการองค์ความรู้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ 

กลุ่มที่ 3 บริหารธุรกิจและสังคมสังคมศาสตร์
  • ด้านบริหารธุรกิจและการจัดการ
  • ด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
  • ด้านสหวิทยาการสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
  • ด้านศึกษาศาสตร์
  • ด้านการวิจัยเชิงพื้นที่และอื่น ๆ

 

กลุ่มที่ 4 นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ (นักเรียนและนักศึกษาระดับปริญญาตรี)
  • นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
    • โครงงานทางวิทยาศาสตร์
    • โครงการวิจัย
    • ปัญหาพิเศษ
    • โครงงานสหกิจศึกษา
  • นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ ประกอบด้วย
    • นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ การเกษตร และอาหาร
    • นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางการเกษตรและอาหาร
    • นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์สำหรับกลุ่มเปราะบาง
หลักเกณฑ์การประกวดการนำเสนอผลงาน

กำหนดการ

  • 1 มีนาคม - 15 พฤษภาคม 2566  ลงทะเบียนและเปิดรับบทความวิจัย 
  • 16 - 30 พฤษภาคม พิจารณาผลงาน และประกาศผล
  • 1  - 15 มิถุนายน 2566 ชำระค่าลงทะเบียน (ตามกำหนด)
  • 16 มิถุนายน - 20 กรกฏาคม 2566 ชำระค่าลงทะเบียน (หลังกำหนด)
  • 21 กรกฎาคม  งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 และ นานาชาติ ครั้งที่ 1

อัตราค่าลงทะเบียน

อัตราค่าลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม

ประเภทการนำเสนอ ลงทะเบียนตามกำหนด
1) ระดับนานาชาติ 2,500 บาท
2) ระดับชาติ (ภาคบรรยาย) 2,000 บาท
3) ระดับชาติ (ภาคโปสเตอร์) 1,500 บาท
4) นักเรียน และนักศึกษา ระดับปริญาตรี

(ลงทะเบียนพร้อมชำระเงิน)

500 บาท

การชำระเงิน

สามารถชำระเงินโดยการโอนเงินผ่านบัญชีทางธนาคาร

ชื่อบัญชี : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
SWIFTCODE : SICOTHBK
หมายเลขบัญชี : 596-2-03491-7
ชื่อธนาคาร : ธนาคารไทยพาณิชย์
สาขา : สาขาแม่โจ้

การตีพิมพ์

ช่องทางการส่งวารสารตีพิมพ์

การเตรียมและแบบฟอร์มบทความวิจัย

ผู้สนับสนุน

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

 

ที่พักและการเดินทาง

โรงแรมที่พัก

นานาแกรนด์
นานาแกรนด์

ติดต่อสอบถามได้ที่ เบอร์โทร 0818845530 

นานาแกรนด์
โรงแรมแพรภูมิบุรี

ติดต่อสอบถามได้ที่ เบอร์โทร 054596235 

การเดินทาง

ติดต่อเรา

สถานที่/Location:

งานบริการวิชาการและวิจัย ชั้น 2 อาคารนำชัย ทนุผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ 17 หมู่ 3 ตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ 54140

การติดต่อ/Call:

คุณขนิษฐา เกตุสุวรรณ์ โทร. 0817833382
คุณศิรภัสสร กันถาด โทร 0 5464 8593-5 ต่อ 6911
เวลาทำการ 8.30-17.30 น.
อีเมล์ mjuphrae@mju.ac.th
โทรสาร 0 5464 8596